ใช้ “อี-เมล์ภาษาไทย” เป็นครั้งแรก! ไมโครซอฟท์ประกาศรองรับบริการ-แอพพลิเคชันเมล์

ไมโครซอฟท์ประกาศรองรับการใช้งาน อี-เมล์ภาษาไทย สำหรับบริการและแอพพลิเคชัน อี-เมล์ ต่าง ๆ เช่น Office 365, Outlook 2016, outlook.com, Exchange Online และ Exchange Online Protection (EOP)นายโอม ศิวะดิตถ์ ผู้บริหารด้านนโยบายภาครัฐ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ประกาศรองรับการใช้งาน อี-เมล์ภาษาไทย…

Continue Readingใช้ “อี-เมล์ภาษาไทย” เป็นครั้งแรก! ไมโครซอฟท์ประกาศรองรับบริการ-แอพพลิเคชันเมล์

ETDA ออกโรงกระตุ้นใช้ชื่อโดเมนภาษาไทย เพิ่มโอกาสอีคอมเมิร์ซไทย

ETDA เดินหน้าผลักดันการใช้ชื่อโดเมนภาษาไทยหรือ IDNs ลดข้อจำกัดด้านภาษา ช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และช่วยเพิ่มมูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยได้ สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า จากผลการศึกษาของ Universal Acceptance Steering Group (UASG) พบว่าหากซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาให้สามารถรองรับชื่อโดเมนใหม่ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษได้ จะสร้างโอกาสในการทำรายได้บนโลกออนไลน์เพิ่มมากถึง 9.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่า 3.27…

Continue ReadingETDA ออกโรงกระตุ้นใช้ชื่อโดเมนภาษาไทย เพิ่มโอกาสอีคอมเมิร์ซไทย

ETDA จับมือ ICANN ลุยพัฒนาชื่อโดเมนภาษาไทย

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) (ETDA) หรือ เอ็ตด้า กระทรวงไอซีที จับมือ ICANN (The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) องค์กรระดับนานาชาติที่มีหน้าที่หลักในการจัดสรรดูแลโดเมนและไอพีของระบบอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ถ่ายทอดความรู้ จัดเวิร์กชอป Thai Label Generation Rules workshop ระหว่างวันที่ 20-21 สิงหาคม 2558 เล็งพัฒนาชื่อโดเมนเป็นภาษาไทย…

Continue ReadingETDA จับมือ ICANN ลุยพัฒนาชื่อโดเมนภาษาไทย

ถึงเวลาคนไทย ใช้ชื่ออีเมล์ภาษาไทย!

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย หรือ THNIC Foundation เป็นผู้นำร่องและผลักดันแนวทางการใช้อีเมล์ภาษาท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ได้ร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA จัดเวทีสัมมนาเพื่อหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบการใช้งาน Email Address Internationalization (EAI) ในประเทศไทย รวมถึงชี้ให้เห็นความสำคัญของอินเตอร์เน็ตภาษาท้องถิ่นและเตรียมแผนรองรับในองค์กรและผู้ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นและระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงกลุ่มผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ ดร.โคทม อารียา ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย กล่าวถึงความสำคัญที่ประชาชนจะสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้บนอินเตอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่เนื่องจากเดิมอินเตอร์เน็ตใช้ภาษาอังกฤษในการเข้าถึง และจำนวนผู้ไม่ใช้ภาษาอังกฤษในหลายประเทศมีจำนวนมากกว่าผู้ใช้ภาษาอังกฤษ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี หรือ Digital Divide เพราะคนที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษก็ไม่สะดวกที่จะเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อเริ่มต้นแก้ปัญหาดังกล่าว…

Continue Readingถึงเวลาคนไทย ใช้ชื่ออีเมล์ภาษาไทย!
Read more about the article “อีเมลภาษาไทย” เพิ่มโอกาสเข้าถึงสังคมดิจิตอล
ดร.โคทม อารียา ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย หรือ THNICF

“อีเมลภาษาไทย” เพิ่มโอกาสเข้าถึงสังคมดิจิตอล

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 24 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดราว 70 ล้านคน แต่มีเพียง 6.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 10% เท่านั้นที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้ ทำให้คนไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ประสบปัญหาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านภาษา แน่นอนว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ในบางประเทศได้เริ่มพัฒนาระบบ URL และอีเมลแอดเดรสเป็นภาษาท้องถิ่นของตน ผ่านแนวทางการดำเนินโครงการที่ชื่อว่า Email Address Internationalization หรือ EAI เช่น รัสเซีย จีน ยูเครน กรีซ เกาหลี และญี่ปุ่น…

Continue Reading“อีเมลภาษาไทย” เพิ่มโอกาสเข้าถึงสังคมดิจิตอล

สัมภาษณ์คุณภาคภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท T.H.NIC

รายโทรทัศน์ เช้าข่าวข้น ช่อง 9 อสมท. สัมภาษณ์คุณภาคภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท THNIC ทางโทรศัพท์ วันที่ 20 มกราคม 2554 เรื่องการจดทะเบียน .ไทย https://www.youtube.com/watch?v=_0udMlkw_Uc&feature=youtu.be

Continue Readingสัมภาษณ์คุณภาคภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท T.H.NIC

“ดอทไทย” โดเมนเลือดไทย กรรมสิทธิ์เฉพาะคนไทย

THNIC คลอดชื่อโดเมนใหม่ .ไทย ตั้งเป้าขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ลดช่องว่างให้ผู้ที่มีปัญหาภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ มั่นใจช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน... เมื่อวันที่ 18 ม.ค.2554 นายโคทม อารียา ประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย หรือ ทีเอชนิค ผู้รับจดทะเบียนโดเมน .th และ .ไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ ยังมีประชากรไทยจำนวนมากที่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ประกอบกับอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้าถึงชุมชนห่างไกลมากขึ้น ทีเอชนิค จึงเริ่มให้บริการ โดเมน .ไทย (ดอทไทย) ที่ได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการบริหารองค์กรอินเทอร์เน็ตโลก หรือ…

Continue Reading“ดอทไทย” โดเมนเลือดไทย กรรมสิทธิ์เฉพาะคนไทย
Read more about the article THNIC เปิดตัวชื่อโดเมนภาษาไทยอย่างเป็นทางการ
Mr.Savenaca Vocea, Global Partnerships, Manager, Regional Relations – Australasia/Pacific Islands of ICANN ดร.โคทม อารียา ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สวทช

THNIC เปิดตัวชื่อโดเมนภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

(จากรูป) Mr.Savenaca Vocea, Global Partnerships, Manager, Regional Relations – Australasia/Pacific Islands of ICANN ดร.โคทม อารียา ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สวทช มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) เปิดตัวชื่อโดเมนภาษาไทยอย่างเป็นทางการ หลังได้รับ การอนุมัติจาก คณะกรรมการบริหารองค์กรอินเทอร์เน็ตโลก หรือ ICANN ให้เป็นผู้บริหารจัดการชื่อโดเมนใหม่ .ไทย…

Continue ReadingTHNIC เปิดตัวชื่อโดเมนภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

โดเมนเนมเว็บไซต์ภาษาอาราบิกครั้งแรกในโลก จีน ไทย จ่อคิวตาม (ประชาชาติธุรกิจ)

โลกออนไลน์สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ใช้อักษรอาราบิกเป็นชื่อโดเมนเนม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ไม่ได้ใช้ตัวอักษรในภาษาละตินเป็นโดเมนเนม ขณะที่ภาษาจีนและไทยจ่อคิวรอเป็นชื่อเว็บไซต์เช่นกัน เอเอฟพี รายงานว่า องค์กรเพื่อการจดทะเบียนโดเมนเนมในอินเทอร์เน็ต หรือ ICANN ซึ่งเป็นเหมือนนายทะเบียนการใช้ชื่อเว็บไซต์ของโลกแถลงทางออนไลน์ว่า "เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อาณาจักรอินเทอร์เน็ต ที่ตัวอักษรนอกเหนือภาษาละตินถูกใช้เป็นโดเมนเนมระดับสูงสุด ภาษาอาราบิกกลายเป็นภาษาแรกที่ไม่ใช่อักษรละตินที่ถูกใช้จดทะเบียนชื่อเว็บไซต์" โดเมนเนมระดับสูงสุดเป็นเหมือนรหัสไปรษณีย์ในโลกอินเทอร์เน็ต โดเมนเนมที่คุ้นหูคุ้นตากันมากที่สุดได้แก่ .com, .org และ .net ชื่อโดเมนแบบใหม่ล่าสุดถูกออกแบบสำหรับใช้ในประเทศ อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ คิม เดวีส์ แห่ง ICANN กล่าวในบล็อกเมื่อวันพฤหัส (6 พ.ค.)…

Continue Readingโดเมนเนมเว็บไซต์ภาษาอาราบิกครั้งแรกในโลก จีน ไทย จ่อคิวตาม (ประชาชาติธุรกิจ)