วิทยากรผู้สอน
คุณฐิติพงศ์ ภาคอินทรีย์
Operation and Support Manager
บริษัท ไทย เนม เซิฟเวอร์ จำกัด
ยกตัวอย่างอีเมล contact@kon.in.th และ ติดต่อ@คน.ไทย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนทั้งอีเมลภาษาอังกฤษที่เราคุ้นเคย และอีเมลภาษาไทย
ทำไมเราถึงต้องรู้จัก local part และ domain part? ข้อแตกต่างที่ชัดเจน ของ domain part และ local part คือ ฝั่ง domain part จะมีการเข้ารหัสที่เรียกว่า puny code ซึ่งเราจะต้องใช้เมื่อทำการ config mail server ซึ่ง local part จะไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับ puny code เลย ในส่วน local part และ domain part หากเป็นอีเมลภาษาอังกฤษ จะแสดงชื่ออีเมลด้วยการเข้ารหัส ASCII หรือ UTF-8 หากเป็น อีเมลภาษาไทย หรือภาษาท้องถิ่นอื่นๆ จะต้องเข้ารหัสด้วย UTF-8 เสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ MUA (หรือ email client) แสดงผลออกมาเป็นตัวอักษรที่ผู้ใช้งานสามารถอ่านเข้าใจได้
คราวนี้มาดูกันที่ domain part กันต่อ เราจะมีชื่อเรียก domain part เฉพาะเจาะจงลงไปอีก คือ U-Label (ย่อมาจาก unicode label) และ A-Label (ย่อมาจาก ascii label) U-Label คืออะไร? U-Label คือ การแสดงผลชื่อโดเมนที่ผู้ใช้งาน สามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย จะแสดงในรูปแบบภาษาอังกฤษ ภาษาไทย หรือภาษาท้องถิ่นนั้นๆ ตัวอย่างเช่น “คน.ไทย”
A-Label คืออะไร? เมื่อเราจะตั้งค่าชื่อโดเมนภาษาไทย ใส่ในเซิร์ฟเวอร์ จะต้องแปลง U-Label ให้อยู่ในรูปแบบ A-Label เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์เข้าใจซึ่งจะเรียกว่า punycode จะขึ้นต้นด้วย xn-- ตัวอย่าง punycode ของ คน.ไทย xn--42c6b.xn--o3cw4h ซึ่งในการพัฒนาระบบอีเมลให้รองรับ EAI เราจะนำ A-Label ไปใช้งานในระบบ DNS Server
การทำความรู้จักกับการแสดงผล และการเข้ารหัส email address จะช่วยทำให้เราสามารถพัฒนาระบบอีเมลได้อย่างถูกต้อง เช่น การเลือก punycode ไปใส่ DNS Server การเลือก encode ชื่ออีเมลด้วย UTF-8 เพื่อแสดงชื่ออีเมลภาษาไทยที่ email client ได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
หากต้องการทดลองทำตามคอร์สออนไลน์ หรือทำเวิร์คชอปออนไลน์ สามารถติดต่อได้ที่ training@thnic.or.th