รายโทรทัศน์ เช้าข่าวข้น ช่อง 9 อสมท. สัมภาษณ์คุณภาคภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท THNIC ทางโทรศัพท์ วันที่ 20 มกราคม 2554 เรื่องการจดทะเบียน .ไทย
Category: ข่าว IDN
“ดอทไทย” โดเมนเลือดไทย กรรมสิทธิ์เฉพาะคนไทย
THNIC คลอดชื่อโดเมนใหม่ .ไทย ตั้งเป้าขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ลดช่องว่างให้ผู้ที่มีปัญหาภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ มั่นใจช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน… เมื่อวันที่ 18 ม.ค.2554 นายโคทม อารียา ประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย หรือ ทีเอชนิค ผู้รับจดทะเบียนโดเมน .th และ .ไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ ยังมีประชากรไทยจำนวนมากที่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ประกอบกับอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้าถึงชุมชนห่างไกลมากขึ้น ทีเอชนิค จึงเริ่มให้บริการ โดเมน .ไทย (ดอทไทย) ที่ได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการบริหารองค์กรอินเทอร์เน็ตโลก หรือ ICANN เพื่อมุ่งลดช่องว่างด้านภาษาและการเข้าถึงความรู้ทางอินเทอร์เน็ต นายภาคภูมิ ไตรพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ ทีเอชนิค กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายของ .ไทย คือ เจ้าของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ .ไทย ได้กระแสตอบรับอย่างดีจากผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก เชื่อว่า .ไทย จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ แม้อาจไม่ได้รับความนิยมเหมือนโดเมนอื่นๆ ที่ผู้ใช้คุ้นเคย แต่มั่นใจว่า .ไทย จะสามารถอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้มากขึ้น ส่วนที่มองว่า .ไทย เป็นการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ใช้ต่างชาตินั้น เชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากเว็บไซต์ที่ต้องการนำเสนอข้อมูลให้ชาวต่างชาติก็จะใช้ภาษาสากล เช่นเดียวกับที่เว็บไซต์ทั่วไปใช้ภาษาไทยเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงได้ โดยในอนาคตยังมีแผนพัฒนาซอฟต์แวร์รับ-ส่งอีเมล์ ให้รองรับการใช้งานที่อยู่อีเมล์เป็นภาษาไทยอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันมีภาษาต่างๆ กว่า 22 ภาษา ได้รับอนุมัติจาก ICANN ให้มีอีเมล์ภาษาท้องถิ่น ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถูกพูดถึงเมื่อประมาณ 5-10 ปีมาแล้ว และได้รับการผลักดันจากประชาคมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโลก โดยเฉพาะแถบประเทศอาหรับและประเทศชาตินิยม ส่วนประเทศแถบเอเชียที่มีอีเมล์ภาษาท้องถิ่นใช้ ได้แก่ สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน โดยการให้บริการ .ไทย จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ >> อ่านเพิ่มเติม
THNIC เปิดตัวชื่อโดเมนภาษาไทยอย่างเป็นทางการ
(จากรูป) Mr.Savenaca Vocea, Global Partnerships, Manager, Regional Relations – Australasia/Pacific Islands of ICANN ดร.โคทม อารียา ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สวทช มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) เปิดตัวชื่อโดเมนภาษาไทยอย่างเป็นทางการ หลังได้รับ การอนุมัติจาก คณะกรรมการบริหารองค์กรอินเทอร์เน็ตโลก หรือ ICANN ให้เป็นผู้บริหารจัดการชื่อโดเมนใหม่ .ไทย (ดอทไทย) เพื่อลดช่องว่างให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษ เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ง่ายขึ้น วันที่ 18 มกราคม 2554 มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย ได้จัดแถลงข่าวการเปิดให้บริการจะทะเบียนชื่อโดเมนเว็บไซต์ในชื่อใหม่ว่า “.ไทย” อย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) โดยจะเปิดให้จดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .ไทยเป็นการทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป
โดเมนเนมเว็บไซต์ภาษาอาราบิกครั้งแรกในโลก จีน ไทย จ่อคิวตาม (ประชาชาติธุรกิจ)
โลกออนไลน์สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ใช้อักษรอาราบิกเป็นชื่อโดเมนเนม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ไม่ได้ใช้ตัวอักษรในภาษาละตินเป็นโดเมนเนม ขณะที่ภาษาจีนและไทยจ่อคิวรอเป็นชื่อเว็บไซต์เช่นกัน เอเอฟพี รายงานว่า องค์กรเพื่อการจดทะเบียนโดเมนเนมในอินเทอร์เน็ต หรือ ICANN ซึ่งเป็นเหมือนนายทะเบียนการใช้ชื่อเว็บไซต์ของโลกแถลงทางออนไลน์ว่า “เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อาณาจักรอินเทอร์เน็ต ที่ตัวอักษรนอกเหนือภาษาละตินถูกใช้เป็นโดเมนเนมระดับสูงสุด ภาษาอาราบิกกลายเป็นภาษาแรกที่ไม่ใช่อักษรละตินที่ถูกใช้จดทะเบียนชื่อเว็บไซต์” โดเมนเนมระดับสูงสุดเป็นเหมือนรหัสไปรษณีย์ในโลกอินเทอร์เน็ต โดเมนเนมที่คุ้นหูคุ้นตากันมากที่สุดได้แก่ .com, .org และ .net ชื่อโดเมนแบบใหม่ล่าสุดถูกออกแบบสำหรับใช้ในประเทศ อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ คิม เดวีส์ แห่ง ICANN กล่าวในบล็อกเมื่อวันพฤหัส (6 พ.ค.) ว่า “ทั้งสามประเทศจะใช้อักษรภาษาอาราบิกเป็นชื่อโดเมน ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้ตัวอักษรจากขวาไปซ้ายได้” อียิปต์อ้างว่าเว็บไซต์ที่ไม่ใช่ตัวอักษรละตินเว็บแรกมีนามสกุลว่า .Mars ICAAN ระบุว่า “ภาษอาราบิกเป็นภาษาที่ใช้กันมากในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ ผู้ใช้ในตะวันออกลางสามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้น เพราะภาษาแม่ของพวกเขาถูกใช้ในทุกส่วนของโดเมนเนม” เดวีส์ให้ข้อมูลว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศว่าจะนำโดเมนเนมระดับสูงสุดไปใช้เพื่อความสะดวกของประชาชนในประเทศตนอย่างไร นอกเหนือจากอาราบิกแล้ว ภาษาที่อยู่ในขั้นตอนรอการเห็นชอบจาก ICANN คือ ภาษาจีน สิงหล ทมิฬและไทย คำร้องขอมีโดเมนภาษาจีนของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นอยู่ในกระบวนการขออนุมัติ ด้านฮ่องกง ไต้หวัน ศรีลังกา รัสเซียและหลายประเทศในแถบอาหรับก็กำลังต่อคิวอยู่เช่นกัน ทีนา แดม แห่ง ICANN กล่าวว่า “เราตั้งตารออย่างใจจดใจจ่อว่าตลาดจะมีผลตอบรับต่อโดเมนเนมที่ไม่ใช่อักษรละตินอย่างไร” เมื่อเดือนมกราคม นายทะเบียนการใช้โดเมนเนมของโลกแถลงว่า อียิปต์ รัสเซีย ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์สามารถสร้างที่อยู่ในโลกออนไลน์เป็นภาษาท้องถิ่นได้ นับเป็นครั้งแรกในรอบสามทศวรรษที่ตัวอักษรอื่นนอกเหนือจากอักษรละตินปรากฏบนทุกส่วนของโดเมนเนม เมื่อวันพฤหัส ICANN ได้รับคำร้องขอมีโดเนมเนม 21 ชื่อใน 11 ภาษา หลังจากที่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วทางองค์กรเห็นชอบให้ใช้ระบบที่อยู่ออนไลน์แบบหลายภาษา เพื่อให้ประชากรในส่วนต่างๆ ของโลกเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น โดยกว่าครึ่งของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1.6 พันล้านคนทั่วโลกไม่ได้ใช้ตัวอักษรภาษาละติน ประชาชาติธุรกิจhttp://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1273210239