ชื่อโดเมน (Domain Name)

ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อไปค้นหาใน Domain Name System เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้น ๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ “ที่อยู่เว็บไซต์” หรือ “Web Address” แทนก็ได้
*เรียนรู้เพิ่มเติม


Domain Name System (DNS)

เป็นระบบที่กระจายอยู่ทั่วโลกมีหน้าที่เก็บข้อมูล ชื่อโดเมน (Domain Name) ที่เราใช้ในการเข้า Website ผ่านทาง Web Browser แปลงกลับมาเป็น IP Address
*เรียนรู้เพิ่มเติม


IP Address (ที่อยู่ไอพี)

ชื่อเต็มว่า Internet Protocal Address คือ หมายเลขที่ใช้สำหรับระบุตัวตนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่บนเครื่อข่าย ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด ที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละเครื่อง


Internationalized Domain Name (IDN)

Internationalized Domain Name (IDN) หรือ โดเมนเนมอักขระท้องถิ่น คือ ชื่อโดเมนที่สามารถประกอบด้วยอักขระ (character) อื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจาก 37 อักขระในรหัส ASCII ซึ่งได้แก่ การใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ (อักษรโรมัน) A-Z, ตัวเลขอารบิก 0-9 และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) เช่น สมชาย.com สมศรี.ไทย
*เรียนรู้เพิ่มเติม


Puny Code

PunyCode (พิวนี่โค้ด) คือ รหัส IDN จะขึ้นต้นด้วย xn-- แล้วจึงตามด้วยตัวหนังสือภาษาอักฤษ เช่น https://รู้จัก.ไทย จะได้ PunyCode เป็น https://xn--12cn4frcvb5f.xn--o3cw4h


ชื่ออีเมลภาษาไทย (EAI)

Email Address Internationalization หรือ EAI คือ ชื่ออีเมลที่เป็นภาษาท้องถิ่น หรือสำหรับประเทศเราก็คือชื่ออีเมลภาษาไทย ตัวอย่างเช่น สมชาย@คน.ไทย
*เรียนรู้เพิ่มเติม


การยอมรับสากล (UA)

Universal Acceptance (UA) หรือ การยอมรับสากล คือ หลักการที่ชื่อโดเมนทุกชื่อจะถูกยอมรับอย่างเท่าเทียมกัน การที่ชื่อโดเมนและชื่ออีเมลทุกชื่อที่ถูกต้องตามกฏเกณฑ์สามารถใช้งานได้โดยซอฟต์แวร์ประยุกต์ อุปกรณ์ และระบบที่รองรับการทำงานอินเทอร์เน็ต
*เรียนรู้เพิ่มเติม


Generic Top-Level Domain (gTLD)

คือ โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป ซึ่งเป็นส่วนประกอบทางด้านขวาสุดเสมอของแต่ละชื่อโดเมนเนม ที่อาจประกอบด้วยตัวอักษรมากกว่า 2 ตัวขึ้นไป เช่น .com, .net, .org
*เรียนรู้เพิ่มเติม


New Generic Top-Level Domain (New gTLDs)

โดเมนระดับบนสุดแบบใหม่ ๆ ที่อาจเป็นคําสามัญทั่วไปหรือชื่อตราสินค้า/บริการ ที่อยู่หลังจุด (.) สุดท้ายของชื่อโดเมน เช่น .soda หรือ .coke


Country Code Top-Level Domain (ccTLD)

คือ โดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ ซึ่งเป็นส่วนประกอบทางด้านขวาสุดเสมอของแต่ละชื่อโดเมนเนม ที่จะต้องประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัวที่แสดงถึงความเป็นประเทศหนึ่ง ๆ หรือเขตแดนใดเขตแดนหนึ่งอย่างเป็นทางการ เช่น .th, .uk
*เรียนรู้เพิ่มเติม


Second Level Domains (SLD)

ชื่อโดเมนที่อยู่ก่อนจุด (.) สุดท้ายของชื่อโดเมน เช่น “pantip” เป็น ชื่อ โดเมนลําดับที่สองของ pantip.com


Cybersquatting

เป็นการจดทะเบียนชื่อโดเมนโดยเจตนามิชอบ โดยการนําเอาชื่อบุคคล ชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงของผู้อื่น ไปจดทะเบียนชื่อโดเมน เพื่อแสวงหากําไรนํามาขายคืนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แท้จริงในราคาที่สูง


Typosquatting

การจดชื่อทีมีการสะกดคล้ายคลึงกับชื่อเครื่องหมายการค้า หรือชื่อที่อาจ ตีความได้ว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น โดยมีเจตนาแอบแฝงเพื่อ ให้ผู้ใช้เข้าใจผิด หรือเข้าเว็บไซต์ผิดไปจากเว็บไซต์ที่แท้จริง


Registrar

ผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมน ตัวอย่างเช่น บริษัท ที.เอช.นิค ผู้ให้บริการจด ทะเบียนชื่อโดเมนอย่างเป็นทางการของ .th *เรียนรู้เพิ่มเติม


Registry Operator

ผู้ดูแลฐานข้อมูลชื่อโดเมน ตัวอย่างเช่น บริษัท ไทยเนม เซิฟเวอร์ เป็นผู้ดูแลฐาน ข้อมูลชื่อโดเมน .th *เรียนรู้เพิ่มเติม


Registrant

บุคคลหรือองค์กรที่ติดต่อกับผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมน เพื่อจดทะเบียนชื่อโดเมนเพื่อนําไปใช้งาน


ICANN

Internet Cooperation for Assigned Names and Numbers (ICANN) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนระดับสากลที่ไม่แสวงหาผลกําไร ทําหน้าที่จัดสรรชื่อและหมายเลขทางอินเทอร์เน็ต การ บริหารจัดการระบบชื่อโดเมนระดับบนสุด โดยคํานึงถึงความปลอดภัย ของอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก *เรียนรู้เพิ่มเติม


Uniform Dispute Resolution Policy (UDRP) 

นโยบายระงับข้อพิพาทสากล ลักษณะการดําเนินการจัดการข้อพิพาทของนโยบาย UDRP มุ่งให้เกิดความรวดเร็วประหยัดค่าใช้จ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับการดําเนินการ ด้วยกระบวนการทางศาลที่ต้องใช้เวลานานและทําให้ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการสูง ลักษณะข้อพิพาทที่เข้าข่ายคือ ชื่อโดเมนเหมือน หรือ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ผู้ร้องเรียนอ้างว่ามีสิทธิ์ เจ้าของชื่อโดเมนในปัจจุบันไม่มีส่วนได้ส่วนเสียตามกฎหมายในชื่อโดเมนนั้น และชื่อโดเมนที่ลงทะเบียนถูกนําไปใช้ด้วยเจตนามิชอบ (bad faith)


WHOIS

เป็นระเบียบวิธี (Protocol) ในการถามและตอบ ซึ่งใช้กันแพร่หลายในการสืบค้นข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือครองโดเมน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนชื่อโดนเมน ข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ของติดต่อผู้ถือครองโดเมน เป็นต้น


World Intellectual Property Organization (WIPO)

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกเป็นหน่วยงานพิเศษหนึ่งของ United Nations (UN) มีหน้าที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์และนวัตกรรม สนับสนุนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก มีสํานักงานกลางอยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์


General Data Protection Regulation (GDPR) 

หลักคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแบบใหม่ที่สภาสหภาพยุโรปบังคับใช้เมื่อเดือน พ.ค. 2561 คุ้มครองข้อมูลพลเมืองยุโรป ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ใดของโลก หากพบว่าผิดกฎ องค์กรต้องจ่ายค่าปรับ 4% ของผลประกอบการรายได้ทั่วโลกทั้งหมด


ศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการอภิบาลอินเทอร์เน็ต (Internet Governance Technical Terms)
โดย: Internet Corporation for Assigned Names and Numbers (ICANN)
แปล: เพชรรวี บุพนิมิตร